ครูดีมีคุณธรรม

ครูดีมีคุณธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

สามเณร ศุภชัย งามดำ

จงอธิบายความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทยว่าเป็นอย่างไร
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยพบว่าประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิเป็นที่ตั้งมั่นของพระพุทธศาสนามาเป็นเวลายาวนานคำสอนของพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทุกภูมิภาคของประเทศและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนจนก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่อเนื่องกันมาจนทำให้พระพุทธศาสนากลายมาเป็นสมบัติของชาติทำให้พุทธศาสนิกชนได้เกิดความภาคภูมิใจ ในพระพุทธศาสนาจนทำให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างใกล้ชิดไปโดยปริยาย แม้มรรยาทต่างๆที่คนไทยถูกสอนให้เคารพผู้อาวุโสก็มีการยืดมั่นและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นก็ล้วนมาจากหลักเกณฑ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นสถาบันพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคมไทย คนไทยต่างให้การยอมรับนับถือมาตั้งแต่โบราณกาล และมีการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานมั่นคงในสังคมไทยวัดและพระสงฆ์จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย วัดจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของการอบรมสั่งสอนจริยธรรม เป็นสถาบันสำคัญทั้งในด้านการศึกษา สังคม และเป็นบ่อเกิดของศิลปะสาขาต่าง ๆ ส่วนพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยกย่องในสังคม ในฐานะเป็นผู้ทรงคุณธรรมควรแก่การเคารพและเชื่อฟังซึ่งสรุปได้ ดังนี้
        ด้านการศึกษา วัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
ด้านสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน
        ด้านศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา
                                     
สามเณร ศุภชัย   งามดำ ปี1 เลขที่6 สาขารัฐศาสตร์การปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น