ครูดีมีคุณธรรม

ครูดีมีคุณธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

สามเณร เอกพันธ์ สงกล

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาของสังคมไทย
พระพุทธศาสนาเข้าสู่สังคมไทยตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณะทูตเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ จนมาถึงปัจจุบันนี้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานทางความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตมีผลต่อวัฒนธรรมของคนไทย มีวัดเป็นศูนย์กลางในการอบรมสั่งสอนฝึกฝนอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีโดยใช้พุทธศาสนาช่วยพัฒนาจิตใจดังนั้นพระพุทธศาสนามีความสำคัญ ดังนี้ 
๑.  สำคัญในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย มีหลักฐานยืนยัน   ดังนี้ 
๑.๑  ศาสนสถานและศาสนวัตถุที่มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยจนมาถึงยุคปัจจุบัน 
๑.๒  การที่พระมหากษัตริย์ให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาตลอดมา ทรงเป็นพุทธมามกะและสนับสนุนและส่งเสริมศาสนาอื่นด้วย 
๑.๓  ประชาชนร้อยละ ๙๕ นับถือพุทธศาสนา และสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงกำหนดสีขาวเป็นสีของพุทธศาสนาและปรากฏสัญลักษณ์ในธงชาติ 
๑.๔  การกำหนดใช้พุทธศักราช เป็นหลักในการนับศักราชของไทย  
๒.  สำคัญในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย 
๒.๑  ประชาชนยึดถือวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์กลางหลักของสังคมไทยมาช้านานด้านสังคม การศึกษา 
๒.๒  พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวพุทธ 
๒.๓  เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ 
๒.๔  เป็นสิ่งที่หลอมรวมศิลปวัฒนธรรมของไทย 
๓.  สำคัญในฐานะสภาพแวดล้อมและครอบคลุมสังคมไทย 
๓.๑  จำนวนวัดมีมากมายกระจายไปทั่วประเทศ รวมทั้งสำนักสงฆ์ด้วย 
๓.๒  วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และมีการให้บุตรหลานเข้าบวชเรียนทางธรรมเป็นสามเณร และเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี 
๓.๓  คนไทยนิยมทำบุญและอนุรักษ์ประเพณีทางพุทธศาสนา ถือเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่สามารถนำไปส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว นำรายได้เข้าประเทศ

สามเณร เอกพันธ์ สงกล ปี1

สามเณร ศุภชัย งามดำ

จงอธิบายความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทยว่าเป็นอย่างไร
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยพบว่าประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิเป็นที่ตั้งมั่นของพระพุทธศาสนามาเป็นเวลายาวนานคำสอนของพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทุกภูมิภาคของประเทศและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนจนก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่อเนื่องกันมาจนทำให้พระพุทธศาสนากลายมาเป็นสมบัติของชาติทำให้พุทธศาสนิกชนได้เกิดความภาคภูมิใจ ในพระพุทธศาสนาจนทำให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างใกล้ชิดไปโดยปริยาย แม้มรรยาทต่างๆที่คนไทยถูกสอนให้เคารพผู้อาวุโสก็มีการยืดมั่นและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นก็ล้วนมาจากหลักเกณฑ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นสถาบันพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคมไทย คนไทยต่างให้การยอมรับนับถือมาตั้งแต่โบราณกาล และมีการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานมั่นคงในสังคมไทยวัดและพระสงฆ์จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย วัดจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของการอบรมสั่งสอนจริยธรรม เป็นสถาบันสำคัญทั้งในด้านการศึกษา สังคม และเป็นบ่อเกิดของศิลปะสาขาต่าง ๆ ส่วนพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยกย่องในสังคม ในฐานะเป็นผู้ทรงคุณธรรมควรแก่การเคารพและเชื่อฟังซึ่งสรุปได้ ดังนี้
        ด้านการศึกษา วัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
ด้านสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน
        ด้านศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา
                                     
สามเณร ศุภชัย   งามดำ ปี1 เลขที่6 สาขารัฐศาสตร์การปกครอง

นาย วนาสิน วงศ์อุทัย

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
พระพุทธศาสนาเข้าสู่สังคมไทยตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณะทูตเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ จนมาถึงปัจจุบันนี้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานทางความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตมีผลต่อวัฒนธรรมของคนไทย มีวัดเป็นศูนย์กลางในการอบรมสั่งสอนฝึกฝนอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีโดยใช้พุทธศาสนาช่วยพัฒนาจิตใจดังนั้นพระพุทธศาสนามีความสำคัญ ดังนี้
๑.พระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติประวัติศาสตร์ของชาติไทยมีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด  พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาประจำชาติไทย
๑.๑. นับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน  ชาวไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว
๑.๒. พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา  จนถึงปัจจุบัน  ทรงนับถือพระพุทธศาสนา  รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่เป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศได้มีบทบัญญัติว่า  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ  หมายถึง  ทรงนับถือพระพุทธศาสนา และ ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก หมายถึง ทรงสนับสนุนศาสนาอื่นๆ
๑.๓. เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเปลี่ยนธงชาติมาใช้ธงไตรรงค์แทนธงช้างซึ้งใช้มาแต่ก่อน  ก็ได้ทรงตราความหมายสีธงแต่ละสีไว้เป็นสัญลักษณ์ดังพระราชนิพนธ์ในหนังสือดุสิตสมิต  ฉบับพิเศษ พ.ศ. ๒๔๖๑ ว่า
ขาว           คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์    หมายพระไตรรัตน์และธรรมะคุ้มจิตใจ
แดง          คือโลหิตเราไซร้         ซึ่งยอมสละได้เพื่อรักษาชาติศาสนา
น้ำเงิน        คือสีโสภา                 อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
นั่นคือ สีแดง หมายถึงชาติ สีขาว หมายถึงศาสนา และ น้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์
ซึ่งศาสนาในที่นี้ทรง  หมายถึง  พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ
๑.๔. เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงต้อนรับพระสันตปาปา  จอห์นปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักรคาทอลิก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗  พระองค์มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า  "คนไทยเป็นศาสนิกที่ดีทั่วกันส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  อันเป็นศาสนาประจำชาติ  "
๑.๕. ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่นับศักราช  โดยใช้พุทธศักราช ( พ.ศ.) อย่างเป็นทางการ  ส่วนประเทศอื่นๆแม้จะนับถือพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้ใช้พุทธศักราชเป็นหลักในการบอกเวลาอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้การที่คนไทยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๕ของประชากรทั้งประเทศนับถือพระพุทธศาสนา  วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่จึงผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างมาก  หลักธรรมและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการซึมซับหล่อหลอมวิถีชีวิตของคนไทย  จนทำให้มีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย  เช่น  มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ยิ้มแย้มแจ่มใสแสดงความเป็นมิตร เป็นต้น เหล่านี้จึงเรียกได้ว่า  "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย"
๒.  สำคัญในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย
๒.๑  ประชาชนยึดถือวัดและพระสงฆ์เป็นศูนย์กลางหลักของสังคมไทยมาช้านานด้านสังคม การศึกษา
๒.๒  พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวพุทธ
๒.๓  เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ
๒.๔  เป็นสิ่งที่หลอมรวมศิลปวัฒนธรรมของไทย
๓.  สำคัญในฐานะสภาพแวดล้อมและครอบคลุมสังคมไทย 
๓.๑  จำนวนวัดมีมากมายกระจายไปทั่วประเทศ รวมทั้งสำนักสงฆ์ด้วย 
๓.๒  วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และมีการให้บุตรหลานเข้าบวชเรียนทางธรรมเป็นสามเณร และเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี 
๓.๓  คนไทยนิยมทำบุญและอนุรักษ์ประเพณีทางพุทธศาสนา ถือเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่สามารถนำไปส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว นำรายได้เข้าประเทศ

                                                                                                   

พระบุญฤทธิ์ ชูเลื่อน (วิชฺชาธโร)

จงอธิบายความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทยอย่างไร
          ความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทย คือ
                 ๑. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อมาจากบรรพบุรุษไทย นับตั้งแต่ไทยมีประวัติศาสตร์ชัดเจนชาวไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หลักฐานโบราณ ได้แก่ โบราณสถานที่เป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุ เช่น พระธรรมจักร  ใบเสมา พระพุทธรูป ศิลาจารึก เป็นต้น แสดงว่าผู้คนในดินแดนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา (ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านานแล้ว
                 ๒. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อวิถีไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน จนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ดังนี้
                       ๑) วิถีชีวิตของคนไทย คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การแสดงความเคารพ การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที การไม่อาฆาตหรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ความอดทนและการเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส รื่นเริง เป็นต้น ล้วนเป็นอิทธิพลจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งได้หล่อหลอมให้คนไทยมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่นานาชาติยกย่องชื่นชม
                       ๒) ภาษาและวรรณกรรมไทย ภาษาทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาษาบาลีมีอยู่ในภาษาไทยจำนวนมาก วรรณกรรมไทยหลายเรื่องมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิกถา ในสมัยสุโขทัย กาพย์มหาชาตินันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง ปุณโณวาทคำฉันท์ ในสมัยอยุธยา เป็นต้น
                       ๓) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ประเพณีไทยที่มาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอยู่มากมาย เช่น การอุปสมบท ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีชักพระ เป็นต้น กล่าวได้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย
                       ๔) ศิลปกรรมไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะแขนงต่างๆ วัดเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมไทย ทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น รูปแบบการเสร้างเจดีย์ พระปรางค์ วิหาร ที่งดงามมาก เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร ประติมากรรม ได้แก่ งานปั้นและหล่อพระพุทธรูป เช่น พระพุทธลีลาในสมัยสุโขทัย พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก จิตรกรรม ได้แก่ ภาพวาดฝาผนังและเพดานวัดต่างๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
                 ๓. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์กลางของความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ให้คนไทยประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามนอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน
                 ๔. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาในการพัฒนาชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต ใช้คุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชน  พัฒนาสังคม  และพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญ
รุ่งเรือง นอกจากนี้พระสงฆ์หลายท่านยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำชุมชนพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดี เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทย
                 ๕. พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติไทย สถาบันหลักของชาติไทยที่คนไทยทุกคนให้ความเคารพนับถือ ประกอบด้วยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญไทยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ หมายถึง พระประมุขของชาติไทยที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและยังเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย
          สรุป พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคมไทย คนไทยต่างให้การยอมรับนับถือมาตั้งแต่โบราณกาล และมีการสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
          เมื่อ พระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานมั่นคงในสังคมไทย วัดและพระสงฆ์มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย วัดจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของการอบรมสั่งสอนจริยธรรม เป็นสถาบันสำคัญทั้งในด้านการศึกษา สังคม และเป็นบ่อเกิดของศิลปะสาขาต่าง ๆ ส่วนพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยกย่องในสังคม ในฐานะเป็นผู้ทรงคุณธรรมควรแก่การเคารพและเชื่อฟังซึ่งสรุปได้ ดังนี้
          ด้าน การศึกษา วัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
          ด้าน สังคม วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน
          ด้าน ศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา.
                                                                             พระบุญฤทธิ์  ชูเลื่อน  (วิชฺชาธโร)
                                                                             เลขที่ ๒  สาขารัฐศาสตร์การปกครอง


พระนรากร คุณากโร (แก้วนิริมิตร)

จงอธิบายความสัมพันธ์พระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทยอย่างไร
             สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย มากขึ้นทุกวันทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การปรับตัว ทุกอย่างดำเนินการไปอย่างรวดเร็วทำให้ประชาชนหันไปพึ่งวัตถุ เพื่อใช้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง จนเกิดเป็นความเคยชิน คิดว่าวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เหล่านี้ คือสิ่งจำเป็นของการดำรงชีวิต โดยลืมนึกถึงศักยภาพของร่างกายและจิตใจของตนเอง ซึ่งมีพลังและศักยภาพมากกว่าวัตถุหลาย ๆ ชิ้น ความทันสมัยของโลกในยุคปัจจุบัน ทำให้พระสงฆ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน โดยเฉพาะการเข้าใจวิถีชีวิตแห่งชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี หรือความเป็นอยู่ของประชาชน จนสามารถเป็นผู้นำทางด้านความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องได้ ซึ่งก็คงจะเป็นการนำย้อนไปสู่บทบาทของพระสงฆ์ในอดีตนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เรานำสิ่งต่าง ๆ มาประยุกต์ และปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้พิสูจน์มาแล้ว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสั่งสอนต่าง ๆ พุทธศาสนิกชนก็ได้ถือปฏิบัติกันมาช้านาน   วัดและพระสงฆ์จึงเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจศีลธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ ของประชาชนทั้งในทางสังคม วัฒนธรรมและศาสนาวัดและพระสงฆ์เป็นผู้นำเอาพุทธรรม มาอบรมสั่งสอนประชาชน ให้มีความเข้าใจในการประพฤติคิหิปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตด้วยความสุขและยุติธรรม
             พ.ศ. ๒๕๐๗ ประเทศไทยมีวัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจำนวนมากมีนักเขียนท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า "การที่ได้เห็นวัดกับพระเจดีย์ตามรายทางโดยไม่มีที่สิ้นสุด แสดงให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของประชาชน" นอกจากนั้นชุมชนในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังมีลักษณะเป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศประมาณร้อยละ ๙๐ ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่มีอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่น ในประเทศไทยจึงมีชุมชนส่วนใหญ่ที่มีหมู่บ้านเห็นหน่วยหลัก และมักจะมีวัดตั้งอยู่ใจกลางราษฎรในหมู่บ้านจึงมีวัดเป็นทั้งแหล่งกลางสำหรับการสมาคมหรือการดำเนินชีวิตทางสังคมและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ชีวิตในชนบทจะดำเนินอยู่รอบ ๆ วัด เพราะประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง    วัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่อยู่เหนือจิตใจของชาวไทยอยู่มาก และนับได้ว่าเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในหมู่บ้านที่รองไปจากครอบครัวทีเดียว ความนับถือของประชาชนที่มีต่อสถาบันนี้ จำนวนเงินที่พุทธศาสนิกชนใช้ไปในการทำบุญประมาณร้อยละ ๗ ถึงร้อยละ ๘๔ ของรายจ่ายภายในครอบครัวทั้งสิ้น สำหรับหน้าที่และความสำคัญของวัดนั้น นอกจากจะเป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมหรือทำพิธีทางศาสนาแล้ว วัดยังทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
             ๑. เป็นแหล่งหรือศูนย์กลางของชุมชน
             ๒. เป็นโรงเรียน
             ๓. เป็นสถานที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และการปลอบใจ
             ๔. เป็นสถานพยาบาลและสถานจ่ายยา
             ๕. เป็นสถานสงเคราะห์และที่พักพิงสำหรับผู้ยากจน คนชรา และเด็กกำพร้า
             ๖. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์กลางการเล่นกีฬา
             ๗. เป็นที่ทำการธุรกิจ
             ๘. เป็นแหล่งจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้ให้แก่ประชาชน
             ๙. เป็นแหล่งข่าวหรือศูนย์รวมข่าว
             ๑๐. เป็นฌานปนกิจสถานและเป็นที่เก็บศพ
             จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า วัดจึงเป็นหน่วยงานสวัสดิการใหญ่ที่สุดในชนบท ที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ  ของครอบครัว ของชุมชน และของสังคมในส่วนรวมได้เป็นอย่างดี มีแต่ในตัวเมืองเท่านั้นที่การช่วยเหลือของวัดลดความสำคัญลง เนื่องจากเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในเขตชุมชนหนาแน่น วัดในพระพุทธศาสนาจึงแบ่งเบาภาระในการให้บริการของรัฐบาลไปได้มาก
ทั้งยังก่อให้เกิดรากฐานอันมั่นคง และเสริมสร้างต่อบริการในด้านสวัสดิการของรัฐอีกด้วยนอกนั้นวัดยังเป็นรากฐานสำคัญของศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา   ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยอยู่มาก.
             พระนรากร   คุณากโร  (แก้วนิริมิตร)
                   เลขที่     สาขารัฐศาสตร์การปกครอง

นายศิริพร บุตจีน

1.              จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธวิธีไทยอย่างไร
ตอบ  ลักษณะพระพุทธศาสนาแบบวิธีไทย  ศาสนาพราหมณ์แม้เกิดในประเทศอินเดียเหมือนพระพุทธศาสนา  แต่ก็ได้มาเจริญเติบโตในประเทศไทย ก่อนพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประชาชาติไทยเสียอีก  ดังจะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์คาถาอาคมได้เข้ามาปะปนอยู่ในความเชื่อของคนไทยมาโดยตลอด  แต่ในขณะที่พระพุทธศาสนาสอนให้คนไทยรู้ว่าความศักดิ์สิทธ์มาจากภายในคือจากตัวเองและคนไทยส่วนมากเชื่อทั้งกรรมลิขิตและพรหมลิขิต  ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า กรรมหรือการกระทำเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เป็นตัวกำหนดฤกษ์ยาม  แต่ชาวพุทธวิธีไทยจำนวนไม่น้อยยังสมัครใจถือฤกษ์ยามตามแบบศาสนาพราหมณ์  มิได้ฤกษ์สะดวก
พระพุทธศาสนาแบบไทยนอกจากจะปะปนกับศาสนาพราหมณ์แล้วยังปะปนกับความเชื่อของคนไทยในส่วนกลางและท้องถิ่น  อันเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมบ้าง ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์บ้าง คนไทยทั้งประเทศส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก  แต่ความเชื่อส่วนใหญ่ได้มาจากศาสนาพราหมณ์ คนไทยกับพระพุทธศาสนาอยู่คู่กันมานาน  คนไทยส่วนใหญ่นิยมสร้างวัดเพราะว่าวัดมีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่อยู่ของพระพิษุสามเณรจะได้รักษาศีล ปฏิบัติธรรม วัดจึงเป็นสถานที่ทำบุญของประชาชนจำนวนมากที่เน้นความสำคัญของพระพุทธศาสนา  ตลอดทั้งยังเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมที่ต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้น พระพุทธศาสนายังให้ความรู้กับประชาชนที่มาบวชเป็นพระมาก  บางคนมาบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สอนให้คนทำแต่ความดีละความชั่ว และยังสอนให้อยู่ในศีลธรรม การบวชในสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันคือบวชเพียง 1 เดือนบ้าง 15 วันบ้าง 7 วัน-บ้าง ผิดกับสมัยก่อนซึ่งบวชได้ยากและคนไทยนิยมบวชกับเป็นปีหรือหลายปี จึงมีเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรมได้มากกว่าสมัยปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการบวชในประเทศไทยเป็นการบวชพราหมณ์ เป็นการบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของพ่อแม่ คนไทยส่วนใหญ่ชวนกันทำบุญและเชื่อเรื่องต่างว่าเมื่อตนปฏิบัติตามความเชื่อนั้นชีวิตของคนก็จะมีความสุข แต่ในที่สุดทุกที่ก็จะถือเรื่องพระพุทธศาสนาสำคัญกว่าอย่างอื่น แต่ได้นำมาดัดแปลงประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความเชื่อในท้องถิ่นเท่านั้น ทั้งนี้พระพุทธศาสนาเป็นนามธรรมจึงยากที่จะเข้าใจ ดังนั้น แต่ละคนจึงเข้าใจพระพุทธศาสนาต่าง ๆ กันตามการศึกษา ตามสติปัญญาและตามความเชื่อของแต่ละคน  ใครมีมุมมองไปทางไหนก็หันไปทางนั้น อย่างเช่น คนเจ็บหนัก หรือคนได้รับเคราะห์หนัก แต่ละคนก็จะคิดไปในทางต่าง ๆ แต่ไม่ได้คิดถึงต้นเหตุที่เกิดขึ้นกับทุกคนนั้นว่ามาจากเหตุใด  พระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญกับคนไทยมาก สอนให้คนไทยได้รู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและที่สำคัญที่สุด คือ สอนให้คนทำความดีมากกว่าทำความชั่ว 
นายศิริพร  บุตจีน  เลขที่ 18  สาขารัฐศาสตร์การปกครอง  คณะสังคมศาสตร์  ปีที่ 1

นายไกรสร พันธรักษ์

จงอธิบายความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อวิถีไทย
๑. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
๑.๑ พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ด้านต่าง ๆ วิถีชีวิตของคนไทยได้เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาตั้งเกิดจนตาย เนื่องจากหลักคำสอนทางพุทธศาสนามีความสอดคล้องกับลักษณะอุปนิสัยคนไทย เช่นชอบความสงบ ความมีเมตตาอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ชอบความอิสระเสรี และพุทธศาสนาก็อยู่คู่กับชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาล จึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑) ด้านภาษา ภาษาไทยส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เนื่องจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี และฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตเป็นหลัก เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาสู่ไทย คนไทยก็รับเอาวัฒนธรรมด้านภาษาด้วย ดังที่ภาษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งชื่อคน ชื่อสถานที่ และชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ ล้วนมาจากศัพท์บาลีแทบทั้งสิ้น เช่นคำว่า โทรศัพท์ โทรทัศน์ มหาวิทยาลัย ธนาคาร เกษตรกรรม รัฐบาล อดิศักดิ์ ศุภลักษณ์ วราพรรณ ธารินทร์ ทัศนศึกษา วิถี เป็นต้น และเป็นได้กลายเป็นภาษาไทยไปจนบางคนเข้าใจว่าเป็นภาษาไทยดั้งเดิม
๒) ด้านวรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา และคัมภีร์พระพุทธศาสนายังเป็นที่มาแหล่งใหญ่ของบทประพันธ์และกวีนิพนธ์ต่าง ๆ ได้รับอิทธพลจากพระพุทธศาสนาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
๓) ด้านศิลปกรรม ประเทศไทยได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ ว่าเป็นเมืองที่มีศิลปะงดงามยากที่จะหาชาติใดเหมือน ศิลปะที่ปรากฏล้วนแต่มีความประณีตสวยสดงดงาม ตรึงตาตรึงใจแก่ผู้พบเห็น ซึ่งศิลปกรรมเหล่านั้นได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เช่นวัดวาอารามต่าง ๆ สวยสดงดงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม ละเอียดอ่อน เขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา และชาดกต่าง ๆ นอกจากนั้นศิลปะทางดนตรีก็เนื่องอยู่ด้วยกันกับพระพุทธศาสนา วัดเป็นแหล่งกำเนิดและอนุรักษ์ศิลปะดนตรี ด้วยวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน จึงเป็นแหล่งกำเนิดหรือปรากฎตัวของดนตรีในโอกาสงานต่าง ๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคล
๔) ด้านการศึกษา การศึกษาของไทยในอดีต มีวัดเป็นศูนย์กลางในการให้การศึกษา มีพระภิกษุเป็นครูสอนวิชาการความรู้ต่าง ๆ แก่ประชาชน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงจัดการศึกษาแบบใหม่ขึ้นในหัวเมือง โปรดให้พระสงฆ์เป็นครูสอน และถือว่าคนที่ผ่านการบวชเรียนมาแล้วเป็นผู้ที่มีความรู้ จึงกำหนดให้คนที่จะเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาก่อน จึงเกิดประเพณีบวชเรียนขึ้น และเมื่อรัฐได้นำเอาระบบการศึกษาแบบใหม่เข้ามา ทำให้บทบาทของวัดที่เคยเป็นศูนย์กลางลดน้อยลง แต่พระสงฆ์ก็ยังมีส่วนในการจัดการศึกษาชุมชน เช่นเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียน ยกที่วัดให้ตั้งเป็นโรงเรียน จึงมีโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในวัดมากมาย แม้โรงเรียนสำหรับประชาชนแห่งแรกก็ตั้งในวัด คือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม
๕) ด้านสังคมสงเคราะห์ วัดเป็นสถานสงเคราะห์ประชาชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ให้การสงเคราะห์แก่ชุมชน เช่น เป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิตสำหรับคนมีปัญหาทางด้านจิตใจ มีพระเป็นจิตแพทย์ เป็นสถานพยาบาล แก่ผู้ป่วยไข้ แม้ปัจจุบัน วัดหลายแห่งกลายเป็นที่พึ่งพิงทั้งทางกายและทางใจของคนผู้ติดเชื้อเอดส์ วัดเป็นศาลไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของชาวบ้าน วัดเป็นสถานบันเทิง รื่นเริงต่าง ๆ ของชุมชน เมื่อมีประเพณีต่าง ๆ และที่สำคัญวัดเป็นสถานสงเคราะห์ที่สำคัญทางด้านจิตใจแก่ประชาชน ทุกระดับ เพราะพระพุทธศาสนา เป็นประดุจขุมทรัพย์ที่ทรงคุณค่ามหาศาล เป็นที่พี่งแก่คนตั้งแต่ระดับที่ต้องการความสุขใจสงบใจจากพิธีกรรม ความเชื่อ จนถึงผู้ที่ต้องการหลักธรรมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
๖) เป็นต้นกำเนิดพิธีกรรมและวันสำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมของไทยมาจากความเชื่อและเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก เช่นพิธีลอยกระทง พิธีทำบุญวันสารทไทย พิธีสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชาวันเข้าพรรษาออกพรรษาเป็นต้น
๗) พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา สามารถบอกกับชาวต่างชาติได้อย่างภาคภูมิใจว่าเมื่องไทยเราเป็นเมืองพุทธ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสต้อนรับพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักรคาธอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในวันที่๑๐พฤษภาคม๒๕๒๗มีความจำเพาะตอนนี้ว่า
"คนไทยเป็นศาสนิกที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ"
นับว่าพระพุทธศาสนาเป็นมรดกสำคัญของชาวไทย จนเป็นที่รู้จักในสายตาชาวต่างประเทศว่าเมืองไทยเป็นเมืองแห่งผ้ากาสาวพัตร (ผ้าเหลือง) คือพุทธศาสนาอยู่คู่ชาติไทยมานาน
๒.ด้านการเมืองการปกครอง
พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อการปกครองอย่างมาก โดยเฉพาะในอดีต สมัยที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช อันมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจในการปกครองบ้านเมืองโดยเด็ดขาด แต่ด้วยทรงมั่นคงต่อหลักธรรมทางพุทธศาสนา ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ทรงประกอบด้วยทศพิธราชธรรม ทรงสนพระทัยในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทรงเป็นพุทธมามกะทุกพระองค์ จึงสามารถใช้ธรรมะปกครองอย่างสงบร่มเย็น ในบางคราวที่บ้านเมืองอยู่ในความระส่ำระสาย ด้วยเหตุสงครามกับข้าศึก พระพุทธศาสนาก็เข้ามามีบทบาทต่อการกู้ชาติบ้านเมือง เช่นใช้วัดเป็นที่ฝึกอาวุธทหาร มีพระสงฆ์เป็นผู้ให้ขวัญและกำลังใจแก่ทหารและชาวบ้านก่อนออกศึก ดังกรณีชาวบ้านบางระจัน ได้รับขวัญและกำลังใจจากหลวงพ่อธรรมโชติ สามารถเอาชนะข้าศึกได้ ปัจจุบัน การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงมีพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน ทรงเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนามาปฏิบัติในพระจริยาวัตรของพระองค์ และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทย ยามที่บ้านเมืองประสบปัญหาภาวะวิกฤต ก็ทรงเป็นห่วงบ้านเมือง ดังเช่นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทรงแนะนำให้ประชาชนหันมาปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา ด้วยการมีชีวิตอยู่อย่างพอดี เศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย พระสงฆ์เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐ กับประชาชน เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน เป็นที่เชื่อถือของประชาชน ดังนั้นวัดจึงเป็นศูนย์กลางระหว่างประชาชนกับรัฐ เมื่อมีกิจการต่าง ๆ ของรัฐ เช่นการประชุม การเลือกตั้ง ก็ใช้วัดเป็นสถานที่ราชการชั่วคราว และพระสงฆ์ยังเป็นสื่อในการสร้างความเข้าในเรื่องการปกครองแก่ประชาชน  เช่นการเผยแพร่ข่าวสารเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชน เรื่องรัฐธรรมนูญ ในโอกาสต่าง ๆ เช่นในการเทศนาสั่งสอนมักจะสอดแทรกความรู้ทางการเมืองการปกครองแก่ประชาชนด้วย

๓.ด้านเศรษฐกิจ
พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่มากมาย ได้ชี้แนะวิธีการการดำรงชีพอยู่อย่างถูกต้องและมีนำมาซึ่งความสุข แก่บุคคลและสังคมได้ พระพุทธศาสนาได้สอนเกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ได้แก่การประกอบการงานอาชีพที่สุจริตและประกอบด้วยหลักธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมดังกล่าว เช่น
๑) การรู้ประมาณในการบริโภค ใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย (โภชเน มัตตัญญุตา) มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของประชาชนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นปัจจุบัน
๒) หลักการทำงานที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ หรือหัวใจเศรษฐี ได้แก่
๑. อุฏฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
๒. อารักขสัมปทา การประหยัดอดออมทรัพย์ที่ได้มา โดยใช้จ่ายแต่จำเป็น
๓. กัลยาณมิตตตา การรู้จักคบคนดี ไม่คบคนชั่วคนพาลอันจะนำพาให้ ทรัพย์สินฉิบหายวอดวาย
๔. สมชีวิตา การรู้จักสภาพทางเศรษฐกิจ รู้ฐานะทางการเงินของตน ใช้จ่ายแต่พอดี

อีกประการหนึ่ง พระพุทธศาสนาได้มีบทบาทอย่างสูง ในการแก้ไขปัญหาแก่ประชาชนในยามที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นว่าประเทศไทยของเราได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่ก็ยังอยู่กันอย่างสงบสุข คนที่เคยทำงานตำแหน่งหน้าที่ดี ๆ เมื่อตกงานก็ปลงใจได้ และพร้อมที่จะทำอาชีพอื่น แม้จะเป็นอาชีพที่มีรายได้น้อย ไม่มีเกียรติก็ตาม ไม่มีการต่อต้านรัฐบาลไม่มีการปล้นสะดมภ์ หรือก่อความวุ่นวายเหมือนประเทศอื่น พร้อมกันนั้นก็พยายามหาทางออกอย่างถูกต้อง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ประเทศไทยเรามีพื้นฐานดี อันได้แก่พื้นฐานทางสังคม และวัฒนธรรมดี หรือที่บางท่านเรียกว่าทุนทางสังคม อันได้แก่มีฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยเฉพาะการเกษตร ฐานทางทรัพยากรธรรมชาติก็มั่นคง เรามีทรัพยากรของประเทศมากมาย มีดินดี น้ำดี เหมาะแก่การเพาะปลูก และฐานทางวัฒนธรรมแข่งแกร่ง คือเรามีพระพุทธศาสนาเป็นวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ สามารถแก้ปัญหาในยามวิกฤตได้ วัฒนธรรมแบบพุทธได้โอบอุ้มสังคมไทยให้สงบร่มเย็นได้ ด้วยองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
ประการที่ ๑ องค์กรทางพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของสังคมในยามวิกฤต ดังเช่นปัจจุบันวัดหลาย ๆ แห่ง กลายเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือชาวบ้าน ด้วยการใช้วัดเป็นสถานสงเคราะห์ ฝึกอาชีพ และกิจกรรมต่าง ๆ แก่ผู้ตกงาน วัดในชนบทหลายแห่ง กลายเป็นที่พึ่งสำหรับผู้ตกงาน เป็นสนามกีฬาสำหรับเยาวชน (ในโครงการลานวัด ลานใจ ลานกีฬา ) โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ ในการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน
ประการที่ ๒ หลักธรรมทางพุทธศาสนาที่แทรกซึมอยู่ในจิตใจของผู้คนที่สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม แต่ก็มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทย ทำให้ไม่เกิดความวุ่นวายระส่ำระสายเกิดขึ้น หลักธรรมเหล่านั้น อันได้แก่
(๑) ความเมตตาปราณี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีการช่วยเหลือคนตกงานด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ดูถูกซ้ำเติม เช่นช่วยจัดหางานให้ จัดโรงทานอาหารฟรีให้ และให้กำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ทั้งจากการแนะนำของผู้ใกล้ชิดและจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
(๒) ให้อภัย และโอนอ่อนผ่อนตาม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่นปัญหาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง หรือระหว่างหน่วยงานเอกชนกับรัฐที่ต้องปิดกิจการ ก็ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ด้วยการใช้ถ้อยทีถ้อยอาศัย ผ่อนปรนต่อกันได้
(๓) ความสันโดษ แม้จะถูกออกจากงานที่ทำ ก็ยินดี เต็มใจที่จะทำงานอื่น แม้จะมีรายได้น้อยกว่าก็ยินดีทำ เคยเป็นผู้จัดการบริษัทมาก่อน แต่มาขับรถแทรกซี่ก็ทำได้ เคยเป็นพนักงานธนาคารแล้วมาขายกล้วยทอดก็ทำได้
อีกประการหนึ่งคือการรู้ประมาณในการบริโภคในการใช้จ่าย มุ่งให้ประหยัด ทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(๔) ความสมานสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในชาติในอันที่จะพร้อมใจกันกอบกู้เศรษฐกิจให้กลับมาอยู่ดีกินดี แม้จะเสียสละเงินทองบริจาคช่วยชาติก็เต็มใจที่จะบริจาค
ดังที่กล่าวมาจะเห็นว่าพุทธศาสนามีบทบาทต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย ทั้งในอดีต และปัจจุบัน แม้ว่าพุทธศาสนาไม่ได้เข้าไปมีบาทในทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่ก็มีบทบาทและอิทธิในทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ อันเป็นพื้นฐานสำคัญ

สรุป
สังคมไทยมีความผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จนไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตประจำวันได้ มีอิทธิพลต่อบุคคล สังคม และวัฒนธรรม ของไทยเป็นอย่างมาก พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลัก ใน ๓ สถาบัน ของชาติ ควบคู่กับสถาบันชาติ และพระมหากษัตริย์ เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยด้านต่าง ๆ เช่นด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม จิตรกรรม การศึกษา การสงเคราะห์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยดั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน


นายไกรสร  พันธรักษ์  เลขที่22

สามเณร วัชระ สุภาพ

จงอธิบายความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยวิถีพุทธ
            สภาพสังคมไทยในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้นทุกวัน  ทั้งทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  การปรับตัว  ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งวัตถุนิยมจนเกิดเป็นความเคยชิน  คิดว่าวัตถุต่างๆเหล่านี้คือสิ่งจำเป็นของการดำรงชีวิต  ในความทันสมัยของโลกปัจจุบันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พระสงฆ์จะต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามให้เกิดแก่ประชาชน  โดยเฉพาะการเข้าใจวิถีแห่งชุมชนอย่างแท้จริง  ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี  ความเป็นอยู่ของประชาชน  จนประชาชนมีความรู้และเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง  ซึ่งในอดีตได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพุทธศาสนาซึ่งเป็นคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประชาชนได้นับถือและปฏิบัติตามนำมาซึ่งความสุขแก่ตนเองและคนรอบข้างได้อย่างแท้จริง
ศาสนาพุทธเป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยรวมจิตใจของคนไทย  เป็นศาสนาที่คนไทยนับถือมากที่สุด  เป็นบ่อเกิดที่สำคัญประการหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎเกณฑ์  กฎหมาย  ค่านิยม  และวิถีชีวิตของชาวไทย  โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมหรือเป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ  เช่น  พิธีโกนผมไฟ  ตัดจุก  พิธีบวชนาค  พิธีศพ  วัดเป็นสถานสงเคราะห์เด็ก  เช่น  วัดสระแก้ว  วัดเป็นที่พึ่งของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย  เช่น  วัดพระบาทน้ำพุ  ในอดีตวัดเป็นที่ให้ความรู้ซึ่งเด็กผู้ชายจะมีการบวชเรียน  ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนานำมาซึ่งสถาปัตยกรรม  ประติมากรรมที่สวยงาม  เช่น  โบสถ์  วิหาร  การสร้างเจดีย์เก็บอัฐิ  การปั้นหล่อพระพุทธรูป  การสร้างพระบูชา  ภาพวาดเกี่ยวกับความเชื่อและชาดกต่างๆบนฝาผนัง  อีกทั้งเป็นแหล่งวรรณกรรม  เช่น  มหาชาติคำหลวง  ไตรภูมิพระร่วง  นอกเหนือจากนี้แล้วอิทธิพลของพุทธศาสนายังส่งผลต่อจิตใจของผู้ที่นับถือ  มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เช่น  การทำบุญตักบาตร  การเวียนเทียน  การทำสังฆทานกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร  ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อว่าการทำดีย่อมได้ดีการทำชั่วย่อมได้ชั่ว  เชื่อในเรื่องของบาป  บุญ  คุณ  โทษ  กฎแห่งกรรม  และเชื่อในเรื่องกรรมว่ากรรมที่ทำในชาตินี้จะมีผลไปถึงชาติหน้า  เพราะความเชื่อต่างๆเหล่านี้จึงทำให้คนไม่กล้าทำบาป  เพราะเกรงกลัวว่าถ้าเกิดในชาติภพต่อไปจะประสบแต่ความยุ่งยากและปัญหาต่างๆ  เมื่อประชาชนเชื่อและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนแล้วย่อมนำมาซึ่งความสุขทั้งความสุขทางกายและความสุขทางจิตใจ

สามเณร  วัชระ  สุภาพ  เลขที่ 9    รัฐศาสตร์การปกครองชั้นปีที่ 1

พระมหาเอกกวิน ปิยวณฺโณ

จงอธิบายความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาว่ามีอิทธิพลต่อวิถีไทยอย่างไร ?
          เมื่อกล่าวถึงวิถีของชาวไทยก็ต้องมีความเข้าใจก่อนว่า คำว่า คำว่าวิถีไทยหมายถึง ครรลองหรือรูปแบบวิธีการในการดำรงชีวิตของชาวไทย ซึ่งผู้ที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับชาวไทย ก็จะทราบได้โดยระเบียบปฏิบัติหรือครรลองแห่งความประพฤติว่าการแสดงออกทางกายวาจาใจอย่างนี้ๆ เป็นลักษณะเป็นอัตตลักษณ์ของชาวไทย โดยที่ครรลองหรือรูปแบบในการดำรงชีวิตของชาวไทยที่แสดงออกมาทางกายวาจาใจนั้นแสดงออกมาโดยการกลั่นกลองกล่อมเกลาอบรมด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เนื่องจากชาวไทยมีความศรัทธายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาประจำใจเป็นศาสนาประจำครอบครัว ตลอดถึงประจำสังคมมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี นี้เองที่ทำให้วิถีชีวิตของชาวไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาอย่างแนบชิด กล่าวได้ว่าชีวิตทั้งชีวิตของชาวไทยนั้นผูกพันธ์กับพระพุทธศาสนาตลอดทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นชีวิต ซึ่งจะได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตของชาวไทยในด้านต่างดังนี้
          ๑. ด้านทัศนคติและความเชื่อ เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุและผลดังที่ทรงตรัสสอนเอาไว้ในหลัก อิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นเหตุจึงเกิดผลอย่างนี้) และหลักปฏิจจสมุปปบาท (สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนี้) เป็นต้น จึงทำให้คนไทยมทัศนคติความเชื่อในฝ่ายที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังจะได้นำมาสาธกเป็นตัวอย่างดังนี้
          ( ๑ ) คนไทยเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม ภาษาบาลีว่า กมฺมสทฺธา  โดยมีความเชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง ทุกการกระทำของสัตว์เมื่อกระทำลงไปโดยเจตนาหรือความจงใจ การกระทำนั้นเรียกว่าเป็นกรรม ถ้ากรรมนั้นประกอบด้วยกุศลเจตนาก็เป็นกรรมฝ่ายดีหรือกรรมที่เป็นบุญทำแล้วยังความสุขกายสบายใจและความเจริญให้เกิดแก่ตนและผู้อื่นจัดเป็นปุญญาภิสังขาร คือการปรุงแต่งการกระทำด้วยความดี ถ้ากรรมนั้นประกอบด้วยอกุศลเจตนาก็เป็นกรรมฝ่ายชั่วทำแล้วมีความวิปฏิสารเดือดร้อนทั้งตนและผู้อื่นจัดเป็นอปุญญาภิสังขาร  คือการปรุงแต่งการกระทำด้วยบาปอกุศล แต่หากเป็นการกระทำที่ปราศจากเจตนาการกระทำนั้นก็ไม่เป็นกรรมเป็นแต่สักว่ากิริยาเท่านั้นเช่นการกระพริบตา หรือการกระทำอื่นๆที่ขาดเจตนาก็ไม่เป็นกรรมเช่นเดินเหยีบสัตว์ตัวเล็กตายเพราะมองไม่เห็นเป็นต้น
          ด้วยความเชื่อเรื่องกรรมคือการของตนเป็นใหญ่จึงทำให้คนไทยไม่เชื่อเรื่องของเทพเจ้าผู้บันดาลให้โชคลาภหรือบันดาลให้มีสุขมีทุกข์จึงเป็นเหตุให้คนไทยรู้จักพึ่งพาตนเองอาศัยการกระทำของตนเองในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆและความเจริญรุ่งเรืองให้กับตนเองตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า อตฺตา หิอตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
          ( ๒ ) คนไทยเชื่อเรื่องวิบาก คือผลแห่งกรรม พระพุทธศาสนานั้นสอนให้เชื่อว่าเมื่อเราทำกรรมไว้อย่างไร ก็จะได้รับผลของการกระทำเช่นนั้นดังที่กล่าวกันเสมอๆว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วซึ่งมีที่มาจากพุทธภาษิตที่ว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํปาปการี จ ปาปกํ บุคคลทำกรรรมดีย่อมได้รับกรรมดี ทำกรรมชั่วก็จะได้รับกรรมชั่วนั่นเอง อุปมาเหมือนการปลูกพืชเช่นถ้าเราปลูกมะม่วงแน่นอนว่าผลที่ได้จากต้นมะม่วงก็จะต้องเป็นผลมะม่วงแน่นอน
          ความเชื่อเรื่องผลแห่งกรรมนี้เป็นเหตุให้คนไทยมีใจใฝ่กุศลธรรมด้วยการหมั่นสร้างบุญกุศลโดยประการต่างๆ เช่นการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
          ( ๓ ) คนไทยเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตนโดยเฉพาะ ภาษาบาลีว่า กมฺมสฺสกตาสทฺธา คือมีความเชื่อว่าแต่ละบุคคลย่อมมีกรรมเป็นของตนเอง สัตว์โลกจะมีวิถีชีวิตเป็นอย่างไรเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เจริญรุ่งเรื่องหรือเดือดร้อนตกต่ำก็เป็นเพราะเหตุคือกรรมที่ตนกระทำเอาไว้เองมีพุทธภาษิตรับรองไว้ว่า กมฺมุนา วตฺตติโลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมและว่า กมฺมํสตฺเต วิภชติยทิทํหีนปฺปตตาย กรรมย่อมจำแนกสัตว์โลกให้แตกต่างกัน คือ ดี เลว ประณีต และต่ำทราม
          จากหลักความเชื่อดังกล่าวทำให้คนไทยมุ่งใส่ใจมิให้บาปอกุศลเกิดมีในขันธสันดานของตนเพราะเกรงว่าตนเองจะต้องเป็นผู้รับผลจากกรรมอันเป็นของเฉพาะตนนั่นเอง
          (๔ ) คนไทยเชื่อเรื่องพระรัตนตรัย ตถาคตโพธิสทฺธา โดยเริ่มจากมีความเชื่อในพระปัญญาอันบริสุทธิ์ของพระพุทะองค์ว่าพระองค์ได้ตรัสรู้ธรรมโดยพระองค์เอง และพระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้นั้นก็เป็นธรรมยังประโยชน์เกื้อกูลให้สัมฤทธิ์ผลแก่ผู้เชื่อฟังและประพฤติปฏิบัติได้โดยสมควรแก่ความประพฤติปฏิบัติของแต่ละบุคคลซึ่งมีพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษาสืบทอดประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยนั้นแล้วได้เผยแผ่แก่พุทธศาสนิกชนเพื่อให้สามารถมีชีวิตที่เข้าถึงความสงบสุขได้โดยปกติ
          ดังนั้นคนไทยจึงมีความเคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างสูงสุดโดยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นที่พึ่งและนิยมกรายไว้บูชาพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณกันโดยทั่วไป
          นอกจากหลักความเชื่อทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คนไทยก็ยังมีความเชื่อที่แฝงด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกหลายประการเช่น คนไทยมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษบุพพการีตลอดถึงครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหมด คนไทยรักความสงบสุข ฯลฯ
          ๒. ด้านการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยอมรับศักยภาพของมนุษย์ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถฝึกฝนพัฒนาได้ ( ปริสทมฺม ) ดังนั้นการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยแท้จริงก็จะต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนอบรมให้มีความประเสริฐคือมีความดีให้ได้ เพราะหากเกิดเป็นมนุษย์แล้วไม่เรียนรู้ไม่อบรมฝึกฝนให้มีสติปัญญามนุษย์ก็จะไม่มีความแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆที่คงสัญชาตญาณดิบเอาไว้ มีการฆ่ากันเบียนเบียนกัน สมสู่กันโดยไม่เลือกไม่เว้นซึ่งอาจกล่าวได้ว่าถ้ามนุษย์ไม่ฝึกฝนพัฒนาก็จะเป็นยิ่งกว่าสัตว์อีกหลายๆประเภทก็เป็นได้ พระพุทธองค์ได้จำแนกระดับความสามารถในการฝึกฝนของมนุษย์เอาไว้โดยทรงอุปมาเปรียบเทียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า และทรงตรัสรับรับความประเสริฐของมนุษย์ไว้ว่า ทนนฺโต เสฏฺโฐมนสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ที่ฝึกแล้วเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ โดยพระองค์ทรงวางหลักธรรมสำหรับการฝึกฝนพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ไว้ ๓ ประการ เรียกว่าไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
          ศีลเป็นการฝึกที่มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลทางสังคมโดยการอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขดังนั้นในระดับศีลจึงเป็นการควบคุมพฤติกรรมเฉพาะกายและวาจาเท่านั้น เมื่อกายวาจาสงบระงับลงไปด้วยอำนาจของศีลก็จะเป็นปทัฏฐานให้สามารถฝึกพัฒนาในระดับที่ ๒ ได้คือเรื่องสมาธิ เพราะศีลเป็นปทัฏฐานของสมาธิ ลำพังเพียงศีลอย่างเดียวมิอาจช่วยให้คนชำระกิเลสมลทินภายในจิตใจให้หมดไปได้ จำเป็นต้องอาศัยสมาธิ คือภาวะที่ใจอ่อนน้อมพร้อมจะฝึกให้ยิ่งขึ้นไป ภาวะที่ใจมีความมั่นคง ภาวะที่ใจเหมาะแก่การงาน และภาวะที่จิตบริสุทธิ์ เป็นผลมาจากสมาธิที่ตั้งมั่นดีแล้วทั้งสิ้น  และเมื่อใจพร้อมด้วยคุณสมบัติดังที่กล่าวแล้วก็จะเป็นปทัฏฐานในการฝึกขั้นสูงสุดคือฝึกระดับสติปัญญา ทั้งนี้เพราะสมาธิเป็นบ่อเกิดของปัญญานั่นเอง
          จากความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ทำให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่ไม่ห่างจากการฝึกฝนพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเห็นได้จากการเข้าวัดปฏิบัติธรรมในธัมมัสสวนะหรือวันสำคัญต่างๆ
          ๓. ด้านวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรม ในบรรดาการเกิดวัฒนธรรมประเพณีต่างนอกจาจะมีสาเหตุทางสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศความเชื่อต่างๆแล้ว ส่วนสำคัญที่สุดของการเกิดวัฒนธรรมประเพณีก็คือศาสนาและเนื่องจากประเทศไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามาแต่ครั้งโบราณกาล ดังนั้นวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยโดยมากก็เกิดขึ้นจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มตั้งแรกเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นอายุขัย เช่นประเพณีการเกิดก็นิยมทำบุญ ตั้งชื่อบุตรหลานในอดีตก็นิยมให้พระตั้งเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคล การบวช การแต่งงานการขึ้นบ้านใหม่ จนถึงการบำเพ็ญกุศลศพเรียกได้ว่ามีวิถีชีวิตที่ไม่ห่างจากพระพุทธศาสนาเลย
          อย่างไรก็ตามในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ยุคที่ผู้คนกำลังหลังอยู่กับกระแสโลกาภิวัฒน์ ระบบทุนนิยมเงินตรา ทำให้ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาได้ถูกละเลยไปพอสมควรจึงเกิดมีปัญหาขึ้นในสังคมจนบางครั้งกลายเป็นความขัดแย้งกันจนยากจะแก้ไข เพราะฉะนั้นในทัศนคติของนักศึกษามีความเห็นว่าเมื่อไรก็ตามที่วิถีของชีวิตชาวไทยมีระยะห่างระหว่างสัมพันธภาพทางพระพุทธศาสนา นั่นเป็นนิมิตบอกเหตุว่าวิถีของชาวไทย สังคมของชาวไทยกำลังเสื่อม กำลังถูกภัยที่เราช่วยกันก่อขึ้นมาคุกคามและหากเราเพิกเฉยไม่ช่วยกันทำสังคมให้น่าอยู่โดยการนำหลักศีลธรรมมาเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต ในอนาคตอันใกล้ชีวิตที่เคยอุดมด้วยความสุขของสังคมไทยก็จะอันตรธานหายไป
          สรุปว่าพระพุทธศาสนานั้นมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวไทยแบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามากล่อมเกลาประพฤติปฏิบัติ ช่วยให้วิถีไทยและสังคมไทยมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ แม้ในปัจจุบันอาจมีห่างเหินจากหลักธรรมไปบ้างแต่โดยภาพรวมแล้วพระพุทธศาสนาก็ยังคงมีความสำคัญและยังคงเป็นที่พึ่งทางจิตใจให้แก่ชาวไทยได้เป็นอย่างดี
พระมหาเอกกวิน  ปิยวณฺโณ เลขที่ ๒ ชั้นปีที่ ๑
                                                          คณะ ศาสนาและปรัชญญา สาขาพุทธศาสตร์